กลุ่มอำนวยการ
ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานศธภ.15
มุม KM
จำนวนผู้เข้าชม







![]() | วันนี้ | 291 |
![]() | วานนี้ | 1449 |
![]() | สัปดาห์นี้ | 9838 |
![]() | สัปดาห์ที่ผ่านมา | 11107 |
![]() | เดือนนี้ | 37982 |
![]() | เดือนที่ผ่านมา | 28996 |
![]() | ทั้งหมด | 1164038 |
บทคัดย่องานวิจัย ทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 |
บทคัดย่องานวิจัย ทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 ชื่องานวิจัย ทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ชื่อผู้วิจัย นางสุทธิพร สังข์ทอง หน่วยงาน สำนักงานศึกษาธิการภาค 15 ปีที่ดำเนินการ พ.ศ.2562 - 2563 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและปัจจัยการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สร้างและประเมินทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม เชิงปฏิบัติการ แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (SWOT Analysis) เทคนิค TOWS Matrix และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาบริบท ปัจจัยการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 คือ 1) ด้านการบริหารทั่วไป นโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กของรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและขาดความต่อเนื่อง การดำเนินงานมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ บุคลากร และกฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติ สภาพภูมิศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในชุมชนเมือง ชนบท และพื้นที่ภูเขาสูง ห่างไกล และกันดาร ชุมชนไม่เห็นด้วยกับการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก อัตราการเกิดของประชาชนลดลง 2) ด้านการบริหารงานบุคคล เปลี่ยนผู้บริหารบ่อยและขาดแคลนครู ครูสอนไม่ครบชั้น ตามกลุ่มสาระวิชาและขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการเงินและพัสดุ 3) ด้านการบริหารงานวิชาการ ครูส่วนใหญ่ไม่ได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ครูมีภาระงานตามโครงสร้างมาก ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ส่วนใหญ่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระดับประเทศ4) ด้านการบริหารงบประมาณและการเงิน งบประมาณไม่เพียงพอ การจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุน จัดโดยใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ รวมถึงการระดมทรัพยากรจากชุมชนหรือผู้ปกครอง มีข้อจำกัด 5) ด้านการมีภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นผู้นำทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้ประสานงาน ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานสร้างความรักสามัคคีกับทีมงาน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ 6) ปัจจัยการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาตระหนักร่วมกัน มีความเสียสละ อุทิศตน และมุ่งมั่นในการพัฒนา ทำงานแบบมีส่วนร่วมและในลักษณะเครือข่าย การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน 2. ทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 ประกอบด้วยกลยุทธ์ 1) พัฒนาหลักสูตร ให้มีความหลากหลายตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น 2) สร้างโอกาส ความเสมอภาคและ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ 4) ส่งเสริมการนำสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา 5) เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 6) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก 7) การปรับปรุง ซ่อมแซม ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 8) ส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 9) ส่งเสริมภาวะผู้นำแก่ผู้บริหารสถานศึกษาและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 10) ปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 11) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรและหาผู้สนับสนุนที่มีศักยภาพ 3. ผลการประเมินทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 15 ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์ ในภาพรวมมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละกลยุทธ์ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลยุทธ์ ยกเว้น กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลายตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
|